การศึกษา รูปแบบ ภาษา และเนื้อหากวีนิพนธ์รูปแบบใหม่ของนิ้วกลม

สรัญดา โตทัพ, สมาน แก้วเรือง, ธันวพร เสรีชัยกุล

Abstract


ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กวีนิพนธ์รูปแบบใหม่ของนิ้วกลม จากหนังสือกวีนิพนธ์จำนวน 2 เล่ม และเครือข่ายสังคมออนไลน์ (ทวิตเตอร์) จำนวน 2,047 บท โดยศึกษาด้านรูปแบบ  ภาษา  และเนื้อหา 

          ผลการศึกษาด้านรูปแบบพบว่ากวีสร้างฉันทลักษณ์ขึ้นมาใหม่มี 2 ลักษณะ คือ กวีนิพนธ์รูปแบบอิสระ และกวีนิพนธ์รูปแบบอิสระที่ยังคงสัมผัสระหว่างวรรคแต่ไม่มีตำแหน่งสัมผัสที่แน่นอน 

กลวิธีการใช้ภาษาพบว่า ด้านการใช้ภาษามีการใช้คำ 5 ประเภทเรียงตามลำดับได้ดังนี้ คือ 1) การใช้คำความหมายตรง  2) การใช้คำภาษาต่างประเทศ  3) การใช้คำที่มีความหมายโดยนัย  4) การใช้คำนามธรรม  5) การใช้คำแสดงอารมณ์  ส่วนการใช้โวหารมี 5 ประเภท คือ 1) โวหารอุปนัย  2) โวหารย้ำความย้ำคำ  3) โวหารอุปลักษณ์  4) โวหารปรพากย์      5) โวหารกระทู้คำถาม  กวีนิพนธ์รูปแบบใหม่ของนิ้วกลมยังสะท้อนเนื้อหาในแนวพาฝันเน้นในเรื่องของความรักที่สื่อความคิดมุมมองทางด้านบวกของความรัก

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.