ความสัมพันธ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานประกันสังคม : กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

วรัชญา เตชะนอก, ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 8 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 8 จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

  ผลการวิจัยพบว่า

  1. พนักงานสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 8มีความคิดเห็นในเรื่องแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ รองลงมา ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน  ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ตามลำดับ

           2. พนักงานสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 8มีความคิดเห็นในเรื่องแรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านนโยบายการบริหารงานด้านความมั่นคงในการทำงาน และด้านรายได้ ตามลำดับ

           3. พนักงานสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 8มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ รองลงมา ได้แก่ ด้านความพอใจของทุกฝ่าย ด้านการจัดหาและการใช้ทรัพยากรและด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ตามลำดับ

          4. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.