การจัดทำรูปแบบในการจัดสร้างเยาวชนต้นกล้ารักษากฎหมายสิ่งแวดล้อม

คงพร นิ่มเจริญชัยกุล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำรูปแบบในการจัดสร้างเยาวชนต้นกล้ารักษากฎหมายสิ่งแวดล้อม และ 2) ประเมินรูปแบบ STG - L & 5R โดยเยาวชนผู้เข้าร่วมปฏิบัติการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา พื้นที่วิจัยเป็นชุมชนริมคลองที่มีปัญหาขยะมูลฝอยในลำคลอง การสร้างเยาวชนต้นกล้ารักษากฎหมายสิ่งแวดล้อมมี 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม 2) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) การปรับปรุงรูปแบบโดยจัดสนทนากลุ่ม 4) การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ของเยาวชนโดยเปรียบเทียบความรู้ก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้

          ผลการวิจัยพบว่าการจัดสร้างเยาวชนต้นกล้ารักษากฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้กฎหมายสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยการจัดกระบวนการกลุ่มโดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1) เรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมด้วยการร่วมกันสำรวจสภาพขยะมูลฝอยในชุมชน 2) เรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมโดยการถ่ายทอดความรู้กฎหมายสิ่งแวดล้อมให้เยาวชนเกิดความรู้และความตระหนัก 3) เรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยการปฏิบัติการโดยกลุ่มเยาวชนต้นกล้ารักษากฎหมายสิ่งแวดล้อม ด้วยหลักการ 5Rs ให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง สรุปการสร้างเยาวชนต้นกล้ารักษากฎหมายสิ่งแวดล้อมได้รูปแบบเป็น STG – L & 5R Model ผลการประเมินรูปแบบโดยเยาวชนผู้เข้าร่วมปฏิบัติการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบมีความสอดคล้องเหมาะสมทุกรายการ (IOC = 0.80-1.00) ผลการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้พบว่าหลังการจัดการเรียนรู้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง ( = 21.28) เพิ่มขึ้นจากก่อนการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำ ( = 12.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.