ภาวะเครียดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ในการทำงานร่วมกับสายการบินต่างชาติ

วัชรินทร์ อนันตพงศ์, รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุความเครียดของพนักงานต้อนรับหญิงคนไทยที่ทำงานในสายการบินต่างชาติ โดยผู้ที่ให้ข้อมูลคือ พนักงานหญิงคนไทยที่ยังคงทำงาน หรือ เคยทำงานในสายการบินต่างชาติเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก ร่วมกับวิธีการคัดเลือกแบบก้อนหิมะ การพิจารณาถึงจำนวนผู้ให้ข้อมูล จะพิจารณาเมื่อข้อมูลที่ได้รับเริ่มมีการซ้ำ และมีความอิ่มตัวของข้อมูล (Data Saturation and redundancy ) โดยที่ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์บุคคลแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi – Structure interview )การสัมภาษณ์กลุ่ม(Focus group) และการสังเกตแบบที่ผู้วิจัยมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตอย่างเปิดเผย(The Observer As Participant) ผลของการวิจัยพบว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงคนไทยมีลักษณะความเครียดที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับนโยบายของสายการบินที่ตนทำงานด้วย รวมทั้งมีความเครียดในระดับที่ต่างกัน แม้ว่าจะอยู่ในบริบทเดียวกันก็ตาม การที่พนักงานสามารถที่จะควบคุมระดับความเครียดของตนเองได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของแต่ละบุคคล รวมถึงทัศนคติ ความเชื่อ และบุคลิกภาพ ที่ทำให้บุคคลคนนั้นสามารถที่จะก้าวผ่านความเครียด หรือมีวิธีที่จะผ่อนคลายความเครียดนี้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สิ่งที่เป็นสาเหตุความเครียดหลักของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คือนโยบาย และวัฒนธรรมขององค์กร เป็นสิ่งที่สร้างความเครียดและความกดดันให้กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมากที่สุด ในงานวิจัยชิ้นนี้ จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการทำงาน รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดความเครียดกับพนักงานคนไทยกลุ่มนี้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.