ประสิทธิผลการดำเนินงานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ : กรณีศึกษา กรมทรัพยากรธรณี

ชวัลรัตน์ พิมพ์สอน, นัทนิชา หาสุนทรี

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลการดำเนินงานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของกรมทรัพยากรธรณีซึ่งใช้การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey research) โดยใช้เทคนิควิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่าง(Sampling) ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการของกรมทรัพยากรธรณีจากสูตรการคำนวณของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 261 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้คือ สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (Mean, X)ความถี่ (Frequency) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD, Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test Independent, F-test ANOVA ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญน้อยที่สุด LSD (Least Significant Difference)

ผลการศึกษา พบว่าข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการของกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งเป็นผู้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี วุฒิการศึกษาปริญญาตรี เป็นข้าราชการ มีความเกี่ยวข้องต่องานด้านการจัดซื้อจัดจ้างโดยเป็นผู้ใช้บริการงานด้านจัดซื้อจัดจ้าง มีอายุราชการ ต่ำกว่า 10 ปี และมีรายได้ต่อเดือน 25,001 บาทขึ้นไป สำหรับประสิทธิผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานการจัดซื้อจัดจ้างของกรมทรัพยากรธรณีในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับระดับความคิดเห็นจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความโปร่งใส ด้านความถูกต้อง ด้านเทคโนโลยี ด้านข้อบังคับ/กฎระเบียบ และด้านความคุ้มค่า มีระดับความคิดเห็นเท่ากัน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ โดยมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ประเภทของการรับราชการ ความเกี่ยวข้องต่องานด้านการจัดซื้อจ้ดจ้าง และอายุราชการ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแตกต่างกัน อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.