ความฉลาดทางอารมณ์ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ที่พยากรณ์การให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ของพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุ ในบริษัทประกันวินาศภัย เขตกรุงเทพมหานคร

ศศิ บุญประเสริฐ, สุนทรี ศักดิ์ศรี

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์  การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น 4) เพื่อพยากรณ์การให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยความฉลาดทางอารมณ์ และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ  กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุในบริษัทประกันวินาศภัย เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับสูง (=4.20,SD=0.38)การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับสูง(=4.01,SD=0.42)การให้ความช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ในระดับสูงมาก(=4.30,SD=0.52)2)ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นในระดับสูง (r=.63**)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ในระดับสูง (r=.72**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ด้านรางวัลจากองค์การและสภาพการทำงานและด้านความยุติธรรมในองค์การ ความฉลาดทางอารมณ์ด้านบริหารจัดการอารมณ์ตนและด้านความสามารถในการจัดการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น สามารถร่วมกันพยากรณ์การให้ความช่วยเหลือผู้อื่นของพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุ ได้ถึงร้อยละ 61

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.