รูปแบบการจัดการความขัดแย้งแบบสันติวิธี เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ จังหวัดนครสวรรค์

ยุทธนา ชมวงศ์, ชยุต ภวภานันท์กุล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในปัจจุบันของการจัดการความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรน้ำ  จังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการจัดการทรัพยากรน้ำ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียของจังหวัดนครสวรรค์ (กลุ่มงานภาครัฐและส่วนราชการ, กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กลุ่มผู้นำชุมชน) จำนวน 18 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาในปัจจุบันของการจัดการความขัดแย้งการใช้ทรัพยากรน้ำ จังหวัดนครสวรรค์  ส่วนมากมีรูปแบบความขัดแย้ง คือความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับภาครัฐโดยมีสาเหตุจากการใช้น้ำในการทำการเกษตร (ทำนา)ซึ่งการจัดการความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลางและมีการจัดการทรัพยากรน้ำที่โดยหน่วยงานภาครัฐและราษฎร์เป็นผู้บริหารจัดการร่วมกัน โดยรูปแบบนวัตกรรมการจัดการความขัดแย้งในอนาคตได้แก่ การวางแผนงานอย่างชัดเจนการให้ข้อมูลข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์ในทุกระดับการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนการจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรม และการวางแนวทางการระงับข้อพิพาท และอีกประเด็นหนึ่งคือความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบความขัดแย้งที่พบอยู่เสมอ คือระหว่างภาครัฐกับชาวประมง โดยมีสาเหตุจากการใช้น้ำในการทำการเกษตร (ทำนา) และการใช้น้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศน์ รูปแบบการจัดการความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นแบบการเจรจาต่อรอง และรูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำที่ผ่านมาคือ หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้บริหารจัดการโดยรูปแบบนวัตกรรมการจัดการความขัดแย้งในอนาคต คือ การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการวางแผนงานอย่างชัดเจน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.