การสกัด การทำให้บริสุทธิ์และสมบัติของเพคตินจากจาวตาล

เวธกา เช้าเจริญ, สุธิดา ทองคำ, นิชนันท์ พุ่มพวง, แพรวพรรณ เพชรประดับ

Abstract


จังหวัดเพชรบุรีมีการปลูกต้นตาลเป็นจำนวนมากเพื่อลดปริมาณการนำเข้าเพคตินและเพิ่มมูลค่าจากจาวตาล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสกัดเพคตินจากจาวตาลด้วยความร้อนและไมโครเวฟ ภายใต้สภาวะการสกัดเดียวกัน ยกเว้นกระบวนการให้ความร้อน การสกัดด้วยความร้อนจะให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส ในขณะที่การสกัดด้วยไมโครเวฟจะใช้กำลังที่ 700 วัตต์ ผลการสกัดพบว่า เพคตินจากจาวตาลที่สกัดได้ทั้ง 2 วิธี มีปริมาณเพคตินร้อยละ 35.55 ± 1.55 และ 35.22 ± 1.78 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษาสมบัติของเพคตินที่สกัดได้พบว่า การสกัดด้วยความร้อนและไมโครเวฟมีปริมาณความชื้นร้อยละ  8.98 ± 0.31 และ  8.91 ± 0.21 โดยน้ำหนัก ปริมาณเถ้าร้อยละ 1.21 ± 0.06 และ 0.80 ± 0.06 โดยน้ำหนัก น้ำหนักสมมูล 4140.53 ± 113.03 และ 3509.44 ± 135.50 ปริมาณกรดกาแลคทูโรนิคร้อยละ 15.00 ± 3.37 และ 9.65 ± 0.09 โดยน้ำหนัก ปริมาณหมู่เมทอกซี ร้อยละ 2.40 ± 0.53 และ 1.54 ± 0.02 โดยน้ำหนัก และระดับเอสเทอริฟิเคชันร้อยละ 5.54 ± 1.43 และ 2.09 ± 0.09 ตามลำดับ และเพคตินที่สกัดได้จัดเป็นเพคตินที่มีหมู่เมทอกซีต่ำ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.