การศึกษาการแกว่งของลูกตุ้มตัวนำในสนามไฟฟ้า

วรรณภา ขัมรักษา, จิตรา เกตุแก้ว

Abstract


จากการศึกษาลักษณะการแกว่งของลูกตุ้มตัวนำในสนามไฟฟ้า โดยมีแผ่นตัวนำคู่ขนานที่มีระยะห่างที่ต่างกัน ตั้งแต่ 7, 11 และ 15 cm โดยจ่ายแรงดันไฟฟ้าคงที่ ที่10 kV และแบ่งการศึกษาลักษณะการแกว่งของลูกตุ้มตัวนำในสนามไฟฟ้าออกเป็น 2 ช่วงคือ 1)ช่วงที่จ่ายแรงดันไฟฟ้าคงที่ ที่10 kVพบว่าลักษณะของการเคลื่อนที่อยู่ในรูปของฟังก์ชั่นสามเหลี่ยม หรือฟันเลื่อย (triangle wave) เมื่อสนามไฟฟ้ามีค่ามากส่งผลให้คาบเวลาการแกว่งน้อยซึ่งจะเห็นได้ว่าคาบเวลาของการแกว่งนี้มีค่าน้อยกว่าคาบเวลาของการแกว่งลูกตุ้มอย่างง่ายเนื่องเป็นผลมาจากสนามไฟฟ้าที่มีค่ามาก ทำให้ลูกตุ้มตัวนำเคลื่อนที่ได้เร็วภายใต้สนามไฟฟ้า2) ช่วงของการหยุดจ่ายแรงดันไฟฟ้า จากผลการศึกษา พบว่าลักษณะกราฟการเคลื่อนที่มีลักษณะเป็นรูปฟังก์ชั่นไซน์(sinusoidal wave) คาบเวลาของการแกว่งลูกตุ้มตัวนำ มีค่าขึ้นกับความยาวเชือก โดยไม่ขึ้นกับระยะห่างระหว่างแผ่นตัวนำคู่ขนานความถี่เชิงมุมเมื่อมีการหน่วง มีค่าเข้าใกล้ความถี่ธรรมชาติ ซึ่งขนาดแอมปลิจูดการแกว่งนี้มีค่าลดลงเมื่อเวลาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการสูญเสียพลังงานไปกับตัวประกอบการหน่วงของการแกว่ง


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.